วงจรอนุกรมคือ การนำโหลดมาต่อเรียงกัน โดยให้ปลายของโหลดตัวแรก ต่อกับปลายของโหลดตัวถัดไป หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง การนำโหลดตั้งแต่สองตัวมาต่อเรียงกันไปแบบอันดับ ทำให้กระแสไหลทิศทางเดียวกัน (ในหนังสือเล่มนี้จะขอใช้ตัวต้านทานแทนโหลดทั่ว ๆ ไป)
การคำนวณค่าความต้านทาน
การวัดค่าความต้านทาน
- นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์ม
ในกรณีที่เป็นมิเตอร์แบบเข็มให้ทำการปรับค่าศูนย์ (Zero Ohm Adjust) ก่อนที่จะดำเนินการขั้นตอนต่อไป
- นำสายวัดของมัลติมิเตอร์เส้นที่หนึ่งสัมผัสกับขาของตัวต้านทานด้านหนึ่ง
- นำสายวัดของมัลติมิเตอร์เส้นที่สองสัมผัสกับขาของตัวต้านทานอีกด้านหนึ่ง
- อ่านค่าความต้านทาน
การวัดค่าความต้านทานรวมของวงจร
การวัดค่าแรงดันตกคร่อม
- นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดแรงดันไฟตรง
(DCV) ให้มากกว่าแหล่งจ่าย
(E)
- นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์
สัมผัสกับด้านไฟบวกของตัวต้านทาน R1
- นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์
สัมผัสกับด้านไฟลบของตัวต้านทาน R1
- อ่านค่าแรงดันตกคร่อมความต้านทาน R1
- ทำขั้นตอนที่ 1-4 เพื่อวัดค่าแรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน R2 และ R3
การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรอนุกรม
- นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดกระแส
(mA) ให้มีค่าสูงไว้ก่อน
- นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟบวกของแหล่งจ่ายไฟ
- นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟลบของแหล่งจ่ายไฟ
- อ่านค่ากระแสที่ไหลผ่านในวงจร
วงจรขนาน
วงจรขนานคือ การนำโหลดมาต่อขนานกันหรือต่อคร่อมกัน
ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปโดยนำจุดต่อของปลายทั้งสองข้างของโหลดแต่ละตัวมาต่อร่วมกัน
(ในหนังสือเล่มนี้จะขอใช้ตัวต้านทานแทนโหลดทั่ว ๆ ไป)
การคำนวณค่าความต้านทาน
ในการคิดคำนวณค่าความต้านทานที่ต่อขนานกัน 2 ตัว จะใช้สูตรใดในการคำนวณก็ได้ผลรวมจะได้เท่ากัน และถ้าค่าความต้านทานมีค่าเท่ากันทั้ง 2 ตัว
คำตอบที่ได้จะลดลงครึ่งหนึ่ง
การวัดค่าแรงดันตกคร่อมในวงจรขนาน
- นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดแรงดันไฟตรง
(DCV) ให้มากกว่าแหล่งจ่าย
(E)
- นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์
สัมผัสกับด้านไฟบวกของตัวต้านทาน R1
- นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์
สัมผัสกับด้านไฟลบของตัวต้านทาน R1
- อ่านค่าแรงดันตกคร่อมความต้านทาน R1
- ทำขั้นตอนที่ 1-4 เพื่อวัดค่าแรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน R2 และ R3
การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรขนาน
วงจรผสม
วงจรผสมคือ การนำโหลดมาต่ออนุกรมและขนานร่วมกันภายในวงจรเดียวกัน
(ในหนังสือเล่มนี้จะขอใช้ตัวต้านทาน แทนโหลดทั่ว ๆ ไป)
การคำนวณค่าความต้านทาน
การคำนวณค่าความต้านทานจะใช้วิธีพิจารณาวงจร
ในกรณีที่ต่อแบบอนุกรมจะนำค่าความต้านทานมาบวกกัน ในกรณีที่วงจรต่อแบบขนาน
จะใช้สูตรขนานในการคิดคำนวณ จากรูปที่ 6.17 สามารถที่จะคำนวณค่าความต้านทานได้ดังนี้
เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้
เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้
เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้
เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้
การวัดค่าแรงดันตกคร่อมในวงจรผสม
- นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดแรงดันไฟตรง
(DCV) ให้มากกว่าแหล่งจ่าย
(E)
- นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์
สัมผัสกับด้านไฟบวกของตัวต้านทานที่จะวัด
- นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ สัมผัสกับด้านไฟลบของตัวต้านทานที่จะวัด
- อ่านค่าแรงดันตกคร่อมความต้านทาน
การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรผสม
- นำมัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดกระแส
(mA) ให้มีค่าสูงไว้ก่อน
- นำสายด้านไฟบวกของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟบวกของแหล่งจ่ายไฟ
- นำสายด้านไฟลบของมัลติมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้ากับด้านไฟลบของแหล่งจ่ายไฟ
- อ่านค่ากระแสที่ไหลผ่านในวงจร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น