ทฤษฏีเทวินิน (Thevenin’s Theorem)

ทฤษฏีเทวินิน (Thevenin’s Theorem)
               ทฤษฏีของเทวินิน กล่าวไว้ว่า ในวงจรเชิงเส้นใดๆ ที่มีแหล่งจ่ายไฟต่ออยู่และ
มีการสลับซับซ้อนและจ่ายไฟฟ้ากับโหลด (RL) ที่มีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงค่าได้
เราอาจแทนวงจรดังกล่าวได้ด้วยแหล่งจ่ายแรดันไฟฟ้าที่เทียบเท่าแหล่งหนึ่งต่ออนุกรมกับ
ความต้านทานที่เทียบเท่าตัวหนึ่งและจ่ายไฟให้กับโหลดดังกล่าว”          


  รูปที่ 1


              จากรูปที่ เป็นรูปที่แสดงถึงวงจรที่กำหนดให้ที่มีขั้วเอาท์พุท 2 ปลายคือ A
และ B และจ่ายไฟให้กับโหลดที่มีค่าเปลี่ยน แปลงได้ เราอาจเปลี่ยนเป็นวงจรเทียบเท่า  
(Equivalent Circuit) ของเทวินินได้ดังรูป 

รูปที่ 2


              จากรูปที่ 7.2 เป็นวงจรเทียบเท่าของเทวินิน ที่มี
               Vth = แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่เทียบเท่าของเทวินิน
               (Thevenin Equivalent Voltage Source)
               Rth = ค่าความต้านทานที่เทียบเท่าของเทวินิน
               (Thevenin Equivalent Resistance)
การหาค่าของ V th,Rth
              การหา Vth มีลำดับขั้นดังนี้
             1. ปลด RLออก

รูปที่ 3


              2. มองเข้าไปในวงจรที่กำหนดให้ทางขั้วเอาท์พุท A-B RL ออกแล้ว และหาค่าVAB
ขณะปลด RL ออกนั้นว่ามีค่าเป็นเท่าไร เราจะได้ว่า VAB ขณะปลด RLออกนั้นก็คือ Vth นั่นเอง
นั่นคือ Vth = VAB ขณะปลด RL ออก              
การหา Rth มีลำดับขั้นดังนี้
               1. ปลด RLออก 
               2. มองเข้าไปในวงจรที่กำหนดให้ทางขั้วเอาท์พุท A-B และถ้าพบว่า
               2.1 วงจรที่กำหนดให้นั้นมีแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้านั้นมีความต้านทานภายใน(Rin)
ให้เราเขียนแทนแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้านั้นด้วยความต้านทานตัวหนึ่งที่มีความต้านทานเท่ากับ
ค่าความต้านทานภายในของแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้านั้นไม่มีค่าความต้านทานภายในให้ทำการ
ลัดวงจรที่แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้านั้นเสีย
               2.2 วงจรที่กำหนดให้นั้นมีแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้ทำการเปิดวงจรที่แหล่งจ่าย
กระแสไฟฟ้านั้นเสีย
               3. หาค่าความต้านทานระหว่างขั้ว A-B ขณะนั้น และจะได้ว่า RAB ขณะปลดRL
 ออกนั้น ก็คือ Rth นั่นเอง
               นั่นคือ Rth = RAB ขณะปลด RL ออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น