กฏของโอห์ม (Ohm 's law)
o
กฏของโอห์ม
ในวงจรไฟฟ้าใด ๆ จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
แหล่ง จ่ายพลังงานไฟฟ้าและตัวต้านทานหรืออุปกรณ์ ไฟฟ้าที่จะใส่เข้าไปในวงจร
ไฟฟ้านั้น ๆเพราะฉะนั้น
ความสำคัญของวงจรที่จะต้องคำนึงถึงเมื่อมีการต่อวงจรไฟฟ้าใดๆ
เกิดขึ้นคือทำอย่างไรจึงจะไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปในวงจรมากเกินไปซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหาย
หรือวงจรไหม้เสียหายได ้ ยอร์จซีมอนโอห์มนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันให้ความสำคัญของวงจรไฟฟ้า
และสรุปเป็นกฏออกมาดังนี้ คือ
1. ในวงจรใด ๆ
กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรนั้นจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับแรงดันไฟฟ้า
2. ในวงจรใด ๆ กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรนั้นจะเป็นปฏิภาคโดยกลับกับความต้านทานไฟฟ้า
เมื่อรวมความสัมพันธ์ทั้ง 2 เข้าด้วยกัน และเมื่อ
K เป็นค่าคงที่ของตัวนำไฟฟ้า จะได้สูตร
ถ้าให้ความต้านทานไฟฟ้าเท่าเดิมต่ออยู่กับวงจรใด ๆ
แรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจะทำให้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามความ สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
เช่น แรงดันไฟฟ้า 10 โวลต์
ไฟฟ้ากระแสตรงต่ออยู่กับความต้านทานไฟฟ้า 20 โอห์ม
จะมีกระแส ไฟฟ้าไหลผ่านวงจร 1 แอมแปร์ ดังรูป
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นแรงดันไฟฟ้า
40
โวลต์ กระแสไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้นตามทันที หรือในทำนองเดียวกัน
ถ้าความต้านทาน ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป แรงดันไฟฟ้าคงที่ กระแสไฟฟ้าจะเปลี่ยนตามไปด้วย
ความต้านทานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
|
กระแสไฟฟ้าที่ได้จะลดลง
|
ความต้านทานไฟฟ้าลดลง
|
กระแสไฟฟ้าที่ได้จะเพิ่มขึ้น
|
เราสามารถเปรียบเทียบความสัมพันธ์เหล่านี้กับการไหลของน้ำในท่อน้ำประปา
กล่าวคือให้แรงดัน (E) เป็นถังเก็บน้ำ ที่อยู่ในระดับสูง
ให้ความต้านทาน (R) เป็นท่อประปา
(ความต้านทานมากท่อจะมีขนาดเล็ก ความต้านทานน้อยท่อจะมี ขนาดใหญ่ )
ให้กระแสไฟฟ้า (I) เป็นปริมาณของน้ำที่เราต้องการใช้
แรงดันที่ไหลออกมาจากถังเก็บน้ำ
ถ้าต้องการให้มีแรงดันสูงต้องตั้งไว้ที่สูง ความต้านทานเป็นท่อน้ำประปา ถ้าความ
ต้านทานมาก หมายความว่า ท่อน้ำมีขนาดเล็ก ความต้านทานน้อย หมายความว่า
ท่อมีขนาดใหญ่ซึ่งแสดงว่าแรงเคลื่อนจะ ไหลได้มากนั่นเอง
ปริมาณของกระแสก็จะเปรียบเหมือนกับปริมาณของน้ำ
การนำกฏของโอห์มไปใช้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น